ขนมไทย คืออะไร?

ขนมไทย

ขนมไทย คือ ของว่าง หรืออาหารรองท้องของคนไทย ถูกจัดอยู่ในประเภทอาหารคาวและอาหารหวาน ขนมไทยขึ้นชื่อว่าเป็นเอกลักษณ์ทั้งในด้านวัฒนธรรมของชาติไทย มีทั้งความละเอียดอ่อน ความประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ และความพิธีพิถันในการทำ รูปลักษณ์ของขนมไทยนั้นน่ารับประทานมาก ทั้งยังมีรสชาติที่หอมหวานอีกด้วย ว่ากันว่าแท้จริงแล้วไม่มีคำว่า ‘ขนม’ ในภาษาไทย คาดว่าจะออกเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า ‘เข้าหนม’ เพราะคำว่า ‘หนม’ แปลว่า หวาน และยังมีอีกหนึ่งข้อสันนิษฐานว่า คำว่า ‘ขนม’ อาจจะมาจากคำในภาษาเขมรว่า ‘หนม’ แปลว่า อาหารที่ทำมาจากแป้ง ก็เป็นได้ 

ประวัติขนมไทย และความเป็นมา

ขนมไทย

ประวัติขนมไทย ประเทศไทยเมื่อครั้งยังเป็นสยามประเทศก็ได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน หรือ อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งได้มีการขายสินค้าให้กันและกันตลอดไปจนถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการอาหารอีกด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆอย่างกว้างขวาง และไทยก็ได้นำเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุดิบท้องถิ่นของบ้านเรา ทั้ง อาหารไทย และขนมไทย จนทำให้คนรุ่นหลังแยกไม่ค่อยออกว่าอันไหนคือขนมไทยแท้ และอันไหนคือขนมที่ดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น 

ประเภทของขนมไทย

ขนมไทย

อย่างที่เรารู้กันว่าขนมไทยนั้นมีหลากหลายแบบมากๆ และวิธีการทำก็มีหลากหลายประเภทเช่นเดียวกัน ขนมไทยต่างๆสามารถแบ่งประเภทด้วยวิธีการทำให้สุกได้ ดังนี้

  • ขนมไทยประเภทนึ่ง 

ขนมไทยที่ใช้วิธีการนึ่ง หรือการที่ขนมสุกด้วยไอน้ำร้อน บางชนิดจะเทส่วนผสมลงในถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิกก็จะห่อด้วยใบตองแล้วนึ่ง อาทิเช่น ขนมใส่ไส้ ขนมน้ำดอกไม้ และ ขนมชั้น เป็นต้น

  • ขนมไทยประเภทน้ำ

ขนมไทยประเภทนี้มักจะนิยมนำมาต้มกับกพชะทิ หรืออาจจะใส่แป้งผสมกลายเป็นขนมเปียก หรืออีกรูปแบบก็จะเป็นขนมที่กินกับน้ำเชื่อมหรือน้ำกระทิ อาทิเช่น ลอดช่อง สาคูเปียก กล้วยบวชชี และ ซาหริ่ม เป็นต้น

  • ขนมไทยประเภทต้ม

ขนมประเภทนี้มักจะต้มในน้ำเดือดจนสุกแล้วค่อยตักขึ้น และจะนำมาคลุกเคล้าหรือโรยด้วยมะพร้าว อาทิเช่น ขนมต้ม และ ถั่วแปบ

  • ขนมไทยประเภทกวน

เป็นขนมไทยที่ทำให้สุกด้วยการกวนบนกระทะ ซึ่งส่วนมากนิยมใช้กระทะทองและกวนไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่เป็นนำจนงวด ต่อมาก็จะเทใส่ภาชนะรอให้เย็น อาทิเช่น ขนมเปียกปูน ตะโก้ ขนมลืมกลืน และผลไม้กวนต่างๆ

  • ขนมไทยประเภทเชื่อม

เป็นขนมที่ใส่ลงไปในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดและจะเชื่อมจนกระทั่งขนมสุก รสชาติจะติดหวานและวิธีปรุงสุกวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีถนอมอาหารอีกด้วย

  • ขนมไทยประเภทอบ

ขนมประเภทนี้จะทำให้สุกด้วยไอน้ำโดยที่ความร้อนจะไม่สามารถระบายออกไปได้เลย อาทิเช่น ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล และขนมกลีบลำดวน นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงการทำขนมให้สุกโดยใช้ความร้อนบนเตาย่าง อาทิเช่น ขนมครก ขนมเบื้อง และ ขนมเกสรลำเจียก เป็นต้น

  • ชนมไทยประเภทปิ้ง

ขนมประเภทนี้จะทำให้สุกโดยวางขนมที่ต้องการปิ้งไว้เหนือไฟ ซึ่งมีตะแกงรองรับ จะทำการปิ้งจนขนมสุก อาทิเช่น ขนมข้าวเหนียวปิ้ง และ มันทิพย์

  • ขนมไทยประเภททอด

เป็นขนมไทยที่ทำให้สุกด้วยการใส่ลงไปในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จะทำการทอดจนกระทั่งขนมมีสีเหลืองสวยงามตามที่ต้องการ อาทิเช่น ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด และ ขนมกง เป็นต้น

  • ขนมไทยประเภทไ่ข่

เป็นขนมไทยที่มีวัตถุดิบหลักในการทำขนม คือ ไข่ อาทิเช่น ทองหยิบ ทองหยอด และ ฝอยทอง เป็นต้น

ขนมไทย4ภาค

ขนมไทย

ขนมไทย4ภาค เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสำรับอาหารไทยมาอย่างยาวนาน วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการทำขนมไทยส่วนใหญ่ ก็จะเป็น แป้ง น้ำตาล และ กะทิ ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้จะทำให้มีรสชาติหวาน หอม มัน และเหนียว โดยแต่ละภูมิภาคของไทยก็จะมีขนมไทยที่นิยมแตกต่างกันออกไป

  • ขนมไทยภาคเหนือ 

ขนมในภาคเหนือส่วนใหญ่มักจะทำจากข้าวเหนียว และจะใช้วิธีการต้มเป็นส่วนมาก อย่างเช่น ขนมเทียนข้าวต้มหัวหงอก ขนมวง มักจะทำให้เทศกาลที่สำคัญ อย่างเช่น วันสงกรานต์ และ วันเข้าพรรษา โดยส่วนใหญ่ขนมที่ทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาล ก็คือ ขนมเทียน หรือ ขนมจ๊อก ขนมเกลือ ข้าวอีตู่ ข้าวแต๋น นอกจากนี้ก็ยังมีขนมพื้นบ้านของแต่ละจังหวัดอีกด้วย อย่าง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็จะมี ขนมอาละหว่า ที่จะคล้ายกับขนมหม้อข้าวหม้อแกงอีกด้วย 

  • ขนมไทยภาคกลาง

ขนมในภาคกลางส่วนใหญ่จะทำมาจากข้าว อย่างเช่น ข้าวเหนียวมูน ข้าวตัง นางเล็ด เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีขนมชาววังที่ได้เผยแพร่ออกมาสู่สามัญชนทั่วไป อย่างเช่น ลูกชุบ ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมกลีบลำดวน หม้อข้าวหม้อแกง ขนมกล้วย ขนมเผือก และ ขนมตาล

  • ขนมไทยภาคอีสาน

ขนมในภาคอีสานมักจะทำได้ง่าย ไม่ได้พิถีพิถันมากเหมือนกับภาคอื่นๆ ขนมพื้นบ้านในภาคอีสาน ก็จะมี ข้าวจี่ บายมะขาม และ ข้าวโป่ง แล้วก็จะมีขนมในงานบุญพิธีที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านมักจะนำข้าวที่ห่อใบตองและทำการมัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู เป็นต้น ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำ ลอดช่อง  และ ขนมปาด ที่จะคล้ายๆขนมเปียกปูน 

  • ขนมไทยภาคใต้ 

ในภาคใต้จะมีความเชื่อในเทศกาลวันสารทเดือนสิบ ที่จะทำบุญด้วยขนมที่มีในเฉพาะท้องถิ่นของภาคใต้เท่านั้น อาย่างเช่น ขนมพอง ขนมลา ขนมแดง ขนมไข่ปลา ข้ามต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมเจาะ ขนมดีซำ ขนมบ้า เป็นต้น

คำถามที่พบบ่อย

Q1: ขนมไทยมีวิธีทำยากไหม?

A1: การทำขนมไทยอาจจะมีความพิถีพิถัน และอาจจะมีกระบวนการทำที่ซับซ้อนอยู่บ้าง แต่ขนมไทยหลายๆชนิดก็สามารถทำได้ง่าย ซึ่งใช้วัตถุดิบไม่เยอะ และก็ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษอะไรมากนัก 

 

Q2: นิยมใช้ไข่อะไรในการทำขนมไทย

A2: ไข่ไก่และไข่เป็ด โดย ไข่ไก่จะนิยมใช้ในการทำขนมไทยมากที่สุด เพราะจะมีกลิ่นคาวน้อย อย่างเช่น ขนมปุยฝ้าย ทองเอก และ เม็ดขนุน ส่วนไข่เป็ดก็นำมาทำขนมได้เช่นเดียวกัน แต่จะมีกลิ่นคาวมากกว่าไข่ไก่ มีกจะใช้กับขนมที่ต้องการสีสัน อย่างเช่น ผอยทอง ทองหยิบ และ ทองหยอด

 

Q3: วัตถุดิบหลักๆในการทำขนมไทย มีอะไรบ้าง?

A3: วัตถุดิบในการทำขนมไทยดั้งเดิมแล้วมีแค่ 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ แป้ง น้ำตาล และกะทิ ต่อมาก๋็เริ่มมีการนำเอาผีก ผลไม้ หรือดอกไม้ตามธรรมชาติมาเพิ่มสีสันให้ขนมไทย และในช่วงสมัยอยุธยา ท้าวทองกีบม้า ก็ได้นำเอาไข่ไก่และไข่เป็ดมาเป็นวัตถุดิบในการทำขนมไทย